วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555


READING COMPREHENSION

รู้จักวิธีการอ่าน (Method of Reading)
การรู้จักวิธีการอ่านเป็นการเน้นในเรื่องลักษณะการอ่านให้เร็วและสามารถรับ รู้และสามารถรับรู้และเข้าใจความหมายของเรื่องที่อ่านได้ทันที ซึ่งนับว่าวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปใช้ในการทำข้อสอบและการอ่านหนังสือ ผู้อ่านจึงควรฝึกฝนใช้วิธีการเหล่านี้ให้เกิดความชำนาญและควรกระทำอย่างจริง
จังและสม่ำเสมอ จึงจะประสบผลสำเร็จ

วิธีการอ่าน (Method of Reading) แบ่งออกเป็น 3 ประการคือ

1.การอ่านผ่าน (Skipping or Skimming) ยิ้ม

วิธีการอ่านผ่านนับเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านได้เป็นอย่างมาก เพราะผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเรื่องทั้งหมด แต่เป็นการเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญและอ่านด้วยความรวดเร็วอย่าให้ความ สนใจคำศัพท์ที่ไม่ทราบจนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความกังวล ควรข้ามส่วนซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่สำคัญออกไป การอ่านข้ามเป็นสิ่งที่คนน้อยคนจะทำได้ดี เพราะคนอ่านมักขาดความมั่นใจว่าได้อ่านข้อความที่สำคัญจริงๆ และกลัวว่าจะอ่านข้าม ข้อความที่สำคัญของเรื่องไปทำให้ไม่กล้าอ่านข้าม
จุดมุ่งหมายสำคัญของการอ่านผ่าน คือ การค้นหาจุดสำคัญที่ของเรื่อง (Topic) ว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการอ่านหนังสือ จากความสำคัญนี้เอง ข้อสอบในส่วนที่เป็น Reading comprehension ส่วนมากจะมีคำถามเกี่ยวกับความคิดหลัก (Main Idea) ของเรื่องอย่างน้อยหนึ่งข้อ การตั้งคำถามเกี่ยวกับ Main Idea จะมีในรูปแบบดังนี้

1.This passage focuses on……………

2.What is the main point of the passage?

3.In this paragraph the writer mainly……………..

4.The best title for this selection is………….

5.The writer's main purpose is………….

6.What is the topic of this passage?

7.The main idea of this passage is………….

8.Which of the following point seem to be emphasized most in the passage?

9.The purpose of this passage is ………..


2.การอ่านพินิจพิเคราะห์ (Scanning) จุมพิต

การอ่านพินิจพิเคราะห์เป็นการอ่านรวดเร็วเหมือนกับการอ่านผ่าน (Skimming) แต่มีความแตกต่างกันที่ การอ่านแบบพินิจพิเคราะห์มีจุดมุ่งหมายเพื่อหา Topic ของเรื่อง ซึ่งในเรื่องจะแบ่งเป็น Topic และ Main Idea รวมทั้ง Supporting Idea

Topic คือ ส่วนสำคัญของเรื่องมีได้เพียง 1 Topic
Main Idea คือ แนวความคิดหลักของเรื่อง ซึ่งมีได้มากกว่า 1 Main Idea
Supporting Idea คือ ข้อความต่างๆ ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ Main Idea

3.การอ่านเพื่อค้นหารายละเอียด (Reading for detail) ยิ้มกว้างๆ

การอ่านแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหารสิ่งที่ต้องการหลังจากที่เราได้อ่าน ผ่านและอ่านแบบพินิจพิเคราะห์แล้วทำให้ผู้อ่านทราบว่า
สิ่งที่ต้องการทราบอยู่ที่ใดของเรื่อง ลักษณะคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดที่สำคัญของเรื่องประกอบด้วยคำถามในลักษณะต่อไปนี้

1.คำถามที่ให้แสดงเหตุผลของเหตุการณ์ในเรื่อง แสดงความขัดแย้งหรืออธิบายสาเหตุที่ให้เกิดเรื่องขึ้น ซึ่งคำถามจะขึ้นต้นด้วยคำว่า
Who, Where, When, What, Why, How
2.คำถามที่เกี่ยวกับการอ้างถึงบุคคลหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยใช้คำว่า refer to ตัวอย่างของคำถามแบบนี้ได้แก่
- What does "this" refer to in the second of paragraph?
- In the line 9 "them" refer to ………
3.คำถามเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์ ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
From the context "eradicated" means………

การอ่านให้เกิดความเข้าใจในเนื้อเรื่อง (Reading for comprehension)
 ขยิบตา

ในการอ่านภาษาอังกฤษ ผู้อ่านมักจะประสบปัญหาว่า "อ่านแล้วไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน" ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

ไม่รู้วิธีการอ่านที่ถูกต้อง
พยายามอ่านทุกคำ
พยายามแปลศัพท์ทุกคำ

เป็นการเพิ่มความสับสนและความไม่เข้าใจเพราะผู้อ่านกังวลอยู่กับศัพท์ที่ไม่ รู้ความหมาย ดังนั้นผู้อ่านควรใช้วิธีและเทคนิคเพื่อปรับปรุงการอ่าน (Method and Technic for improving reading comprehension) ให้เกิดความเข้าใจซึ่งมีวิธีการอยู่ 2 ประการ คือ

1. ก่อนอ่านเรื่องทุกๆ ครั้งผู้อ่านจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าต้องการจะทราบอะไรในการอ่านซึ่งถ้าเป็นการทำข้อสอบ
จุดมุ่งหมายนี้ก็เพื่อจะหาคำตอบที่โจทย์ถามดังนั้น ก่อนทำข้อสอบจึงควรอ่านคำถามทั้งหมดก่อนแล้วจึงอ่านเรื่อง

2. ผู้อ่านต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมเพื่อปรับอัตราความเร็วในการอ่านให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้
2.1 วิธีการอ่านผ่านมีประโยชน์ คือ เป็นการประหยัดเวลาและช่วยให้ผู้อ่านหา Topic และ Main Idea ของเรื่องพบ
2.2 การอ่านพินิจพิเคราะห์มีประโยชน์ คือ ทำให้ผู้อ่านทราบว่าในแต่ละ paragraph มี Main Idea อะไรบ้าง
2.3 การอ่านแบบค้นหารายละเอียด ทำให้ง่ายในการหาคำตอบที่โจทย์ถาม 

 ลังเล ลังเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น