วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


Using Context Clue

เรื่อง เทคนิคการเรียนรู้คำศัพท์จากบริบท ประเภทการให้คำจำกัดความ

 การให้คำจำกัดความ (Definition) ในการเรียนรู้คำศัพท์ยาก ผู้อ่านอาจจะอาศัยการเดาความหมายจากการให้คำจำกัดความที่ผู้เขียนได้อธิบายความหมายของคำศัพท์ออกมาโดยตรง โดยที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องเปิดหาความหมายของคำศัพท์จากพจนานุกรม คำชี้แนะที่เป็นตัวช่วยในการบอกความหมายประเภทการให้คำจำกัดความ ได้แก่ Verb to be (is, are) mean that is refer to called / be called consist of can be defined as ตัวอย่างประโยคการให้คำจำกัดความ - Geometry is one branch of mathematics about line, angles, and surfaces. - A meteorite is a falling star that reaches the earth without burning up. - Meat of deer is called venison. - The earth’s hydrosphere consist of water on its surface, water, vapor in the air and even water that has soaked into the soil. นอกจากนี้ยังมีเครื่องหมายวรรคตอน (Punctuations)
ที่ถูกใช้เป็นตัวชี้แนะในการช่วยการเดาความหมายคำศัพท์ที่เราไม่คุ้นเคยอีก ได้แก่ , ,……., ……-……. (…………)
Context Clue
Context Clues การเดาความหมายจากบริบท
context = ปริบทหรือบริบท , clue = ตัวชี้แนะ อุปสรรคที่มักพบบ่อยๆ
ในการอ่านภาษาอังกฤษ ก็คือ การไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ ทำให้ไม่สามารถเข้าใจข้อความที่อ่าน
ไม่สามารถตีความโจทย์ข้อสอบได้ อ่านไม่เข้าใจ ทำข้อสอบได้ไม่ดี วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ก็คือ ต้องรู้ความหมายศัพท์และสามารถนำไปใช้ได้ แต่การรู้ความหมายศัพท์โดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรม (Dictionary) นั้น ทำได้อย่างไร คำตอบก็คือ นักเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องเดาความหมายนั้นจากบริบท (Context)
ซึ่งหมายถึง ข้อความ หรือศัพท์หลายๆ คำซึ่งแวดล้อมคำศัพท์ตัวที่เราไม่รู้ความหมาย แล้วทำให้เดาความหมายของศัพท์ที่ไม่รู้ได้ บริบทเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเข้าใจคำศัพท์ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ ความหมายของคำ คำใดคำหนึ่งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคำอื่นๆ ซึ่งอยู่ข้างเคียงด้วย เช่น คำว่า "about" We know about that. (about = concerning) แต่ถ้า It is about six o'clock. (about = close to) เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถตีความหมายได้โดยอาศัยสิ่งแนะที่อยู่ในปริบท (Context Clues) สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณ (Clues / signal words) สามารถช่วยชี้แนะความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยให้กับผู้อ่านได้อย่างถูกต้องตรงตามปริบท สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณที่สำคัญได้แก่
1. Definition type (การให้คำนิยาม)
2. Restatement type (การกล่าวซ้ำ)
3. Example type (การยกตัวอย่าง)
4. Comparison or Contrast type (การเปรียบเทียบ หรือ บอกความแตกต่าง)
5. Cause and Effect relationship type (การใช้ความสัมพันธ์ในเรื่องเหตุและผล)
6. Explanation type (การอธิบาย)
7. Modifier type (การใช้ตัวขยาย)
8. Subjective type (การใช้เนื้อเรื่อง)
9. Familiar type (การใช้คำที่คุ้นเคยที่มีความหมายใกล้เคียง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น